Search

ลูกเห็บที่อุดมแอมโมเนียบนดาวพฤหัสบดี - ไทยรัฐ

golekrowo.blogspot.com

น้ำเป็นสสารสำคัญในอุตุนิยมวิทยาของดาวเคราะห์ เชื่อว่ามีบทบาทสำคัญในการก่อตัวของดาว พายุภาคพื้นดินที่ถูกขับเคลื่อนด้วยแรงพลังของน้ำ ทำให้เกิดพายุฟ้าคะนองซึ่งน่าจะเชื่อมโยงกับภูมิภาคที่มีน้ำอยู่หลายลักษณะทั้งในแบบของแข็ง ของเหลว และก๊าซ สิ่งเหล่านี้ก็เกิดบนดาวพฤหัสบดีไม่ต่างจากโลก ล่าสุด ทีมวิจัยจากสหรัฐอเมริกาและศูนย์วิจัยวิทยาศาสตร์แห่งชาติในฝรั่งเศสได้เผยถึงการวิจัยอุตุนิยมวิทยาดาวพฤหัสบดี

อาศัยข้อมูลใหม่ที่บันทึกโดยเครื่องวัดคลื่นไมโครเวฟที่ติดตั้งบนยานอวกาศจูโน ชี้ให้เห็นว่าพายุฝนฟ้าคะนองรุนแรงที่เกิดขึ้นในชั้นบรรยากาศของดาวพฤหัสบดีอาจก่อให้เกิดผลึกหรือลูกเห็บที่อุดมด้วยแอมโมเนีย ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการเปลี่ยนแปลงชั้นบรรยากาศของดาวเคราะห์ ทฤษฎีนี้ช่วยอธิบายถึงแง่มุมน่าสงสัยบางประการในอุตุนิยมวิทยาของดาวพฤหัสบดี ที่เป็นไปได้ว่าพายุจะก่อตัวขึ้นในชั้นบรรยากาศลึกที่อยู่ใต้เมฆ พายุเหล่านี้บางลูกทรงพลังมากจนสามารถพัดพาผลึกน้ำแข็งขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศด้านบนของดาว

เมื่อผลึกเหล่านี้ทำปฏิกิริยากับก๊าซแอมโมเนีย แอมโมเนียจะต้านการแข็งตัวทำให้น้ำแข็งกลายเป็นของเหลว ดังนั้น ผลึกน้ำแข็งที่ลอยขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศจะถูกละลายด้วยแอมโมเนีย กลายเป็นเหลวผสมแอมโมเนีย และจับตัวเป็นลูกเห็บรูปทรงแปลก เรียกว่า “มัชบอลล์” (mushballs) เมื่อตกลงไปในชั้นบรรยากาศลึกจนกระทั่งถึงจุดที่ระเหยได้ กลไกปฏิกิริยาจะนำแอมโมเนียและน้ำลงสู่ระดับลึกของชั้นบรรยากาศของดาวพฤหัสบดีต่อไป.

(ภาพประกอบ Credit : NASA/JPL-Caltech/SwRI/MSSS/Kevin M. Gill)

อ่านเพิ่มเติม...

Let's block ads! (Why?)



"ของเหลว" - Google News
August 10, 2020 at 10:01AM
https://ift.tt/31C4GSp

ลูกเห็บที่อุดมแอมโมเนียบนดาวพฤหัสบดี - ไทยรัฐ
"ของเหลว" - Google News
https://ift.tt/2MlG1dB


Bagikan Berita Ini

0 Response to "ลูกเห็บที่อุดมแอมโมเนียบนดาวพฤหัสบดี - ไทยรัฐ"

Post a Comment

Powered by Blogger.