Search

'ลาร์วาเชียน' สถาปนิกแห่งท้องทะเลผู้สร้างบ้านจากของเหลวในร่างกาย - วีโอเอไทย - VOA Thai

golekrowo.blogspot.com

สัตว์ทะเลน้ำลึกที่มีขนาดเล็กมากๆ บางชนิดเป็นที่รู้จักในฐานะสถาปนิกแห่งท้องทะเล พวกมันสามารถสร้างที่อยู่ที่มีความซับซ้อนที่ทั้งให้การปกป้องและใช้ดักจับอาหารได้

โครงสร้างดังกล่าวนี้ทำจากของเหลวที่ไหลออกมาจากหัวของพวกมัน และหลังจากที่ถูกใช้ไปแล้ว สัตว์ทะเลที่มีชื่อเรียกว่า larvacean ตัวใหญ่ยักษ์ ก็จะสร้างบ้านหลังใหม่ของพวกมันขึ้นมาทุก ๆ วัน

บางคนเรียกบ้านของพวกมันว่า “วังน้ำมูก” เพราะมีลักษณะเหมือนบ้านหลังใหญ่ที่สร้างจากเมือกซึ่งเป็นของเหลวที่ผลิตออกมาจากเนื้อเยื่อที่มีชีวิตเพื่อเอาไว้ปกป้องตัวเอง

ส่วนบางคนก็คิดว่า การศึกษาที่อยู่ของ larvacean อาจสามารถช่วยอุตสาหกรรมการก่อสร้างได้ หากนักวิทยาศาสตร์สามารถเข้าใจวิธีการสร้างบ้านของพวกมัน

Kakani Katija นักชีววิศวกรรมที่สถาบันวิจัย Monterey Bay Aquarium Research Institute ในรัฐแคลิฟอร์เนีย ได้ทำการศึกษาวิจัยในเรื่อง “วังน้ำมูก” ซึ่งตีพิมพ์อยู่ในวารสาร Nature magazine ฉบับเมื่อเร็ว ๆ นี้

เธอกล่าวว่า สิ่งมีชีวิตที่อยู่ในบ้านเหล่านี้มีขนาดเล็กตัวที่ใหญ่ที่สุดอยู่ที่ประมาณ 10 เซนติเมตร แต่พวกมันล้วนมีความสำคัญต่อสิ่งแวดล้อม สัตว์เหล่านี้อาศัยอยู่ในมหาสมุทรทั่วโลก เป็นสัตว์ที่ไม่มีกระดูกสันหลังและเป็นวงวานที่ใกล้เคียงกับมนุษย์มากที่สุด

This 2002 photo provided by the Monterrey Bay Aquarium Research Institute shows a close up view of a "giant larvacean" and its "inner house" - a mucus filter that the animal uses to collect food. (MBARI via AP)
This 2002 photo provided by the Monterrey Bay Aquarium Research Institute shows a close up view of a "giant larvacean" and its "inner house" - a mucus filter that the animal uses to collect food. (MBARI via AP)

Boris Worm นักชีววิทยาทางทะเลจากมหาวิทยาลัย Dalhousie ซึ่งไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการศึกษาครั้งนี้ ตั้งข้อสังเกตว่าบ้านของ larvacean สร้างขึ้นจากน้ำเกือบทั้งหมด และสร้างขึ้นมาอย่างมีวัตถุประสงค์ เรียกว่าแทบไม่ต่างจากผลงานของมนุษย์ต่างดาว

โครงสร้างบ้านเมือกเหล่านี้มีความซับซ้อน โดยจะเป็นรังที่มีรูปร่างเหมือนหัวใจซ้อนกันสองชั้นไว้คอยดักจับอาหาร มีลักษณะใสและมีขนาดใหญ่กว่าเจ้า Larvacean ถึงสิบเท่า ทำให้โอบล้อมมันไว้ได้ทั้งตัว และพวกมันจะต้องคอยหลบซ่อนตัวจากปลาที่อาจกินพวกมันเป็นอาหารในเวลาที่น้ำไหลผ่านเข้าไป

Worm กล่าวต่อไปว่า สัตว์ทะเลชนิดนี้ยังช่วยเรื่องสิ่งแวดล้อมของมหาสมุทร เมื่อบ้านของพวกมันถูกใช้ไปแล้ว มันจะปล่อยคาร์บอนนับล้านตันลงไปที่พื้นทะเล เพื่อช่วยป้องกันภาวะโลกร้อน

นอกจากนี้แล้ว Larvacean ยังช่วยนำไมโครพลาสติกออกจากมหาสมุทรแล้วนำลงไปไว้ยังใต้ท้องทะเล จากนั้นสิ่งปฏิกูลที่อยู่ในบ้านของพวกมันก็จะถูกกินโดยสิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่ที่ก้นมหาสมุทร

In this 2015 photo provided by the Monterrey Bay Aquarium Research Institute, Kakani Katija works in the remote operated vehicle control room on MBARI’s research vessel Western Flyer as the DeepPIV system illuminates a giant larvacean. (Kim Reisenbichler/
In this 2015 photo provided by the Monterrey Bay Aquarium Research Institute, Kakani Katija works in the remote operated vehicle control room on MBARI’s research vessel Western Flyer as the DeepPIV system illuminates a giant larvacean. (Kim Reisenbichler/

สิ่งที่ Larvacean สร้างขึ้นมานั้น สร้างความสนใจและยังคงเป็นปริศนาต่อบรรดานักวิทยาศาสตร์ และเนื่องจากบ้านเมือกนั้นมีความเปราะบางและสามารถแตกหักง่าย นักวิจัยจึงไม่สามารถนำกลับไปที่ห้องแล็บเพื่อทำการการศึกษาได้ ดังนั้น Katija และคณะของเธอจึงใช้หุ่นยนต์เรือดำน้ำ กล้อง และเลเซอร์ เพื่อคอยดูสิ่งมีชีวิตที่อยู่ในน้ำลึก 200 ถึง 400 เมตร ใกล้กับอ่าวมอนเทอเรย์ ในรัฐแคลิฟอร์เนีย

Katija กล่าวว่า บรรดานักวิศวกรของนาซ่าควรเรียนรู้เกี่ยวกับบ้านของเจ้า Larvacean ให้มากขึ้น หากต้องการปลูกสิ่งก่อสร้างหรือสร้างอาณานิคมขึ้นบนดวงจันทร์ในอนาคต

Let's block ads! (Why?)



"ของเหลว" - Google News
June 30, 2020 at 07:08PM
https://ift.tt/2NEy7gc

'ลาร์วาเชียน' สถาปนิกแห่งท้องทะเลผู้สร้างบ้านจากของเหลวในร่างกาย - วีโอเอไทย - VOA Thai
"ของเหลว" - Google News
https://ift.tt/2MlG1dB


Bagikan Berita Ini

0 Response to "'ลาร์วาเชียน' สถาปนิกแห่งท้องทะเลผู้สร้างบ้านจากของเหลวในร่างกาย - วีโอเอไทย - VOA Thai"

Post a Comment

Powered by Blogger.