Search

คอลัมน์ผู้หญิง - การช่วยชีวิตลูกสัตว์ - หนังสือพิมพ์แนวหน้า

golekrowo.blogspot.com

เมื่อไม่กี่วันมานี้มีข่าวที่มีคนเข้าช่วยเหลือลูกสุนัข 2 ตัว จนรอดชีวิต ซึ่งเป็นที่น่าชื่นชมในความพยายามและความตั้งใจในการช่วยเหลือดังกล่าว ทุกคนที่ทราบข่าวก็เอาใจช่วย อย่างใจจดใจจ่อ ซึ่งผลจากความพยายามนั้นก็ทำให้ 2 ชีวิตน้อยๆ นั้นได้รอดชีวิตและได้ลืมตาขึ้นมาดูโลกใบนี้อีกครั้ง

วันนี้ผมมีเรื่องราวดีๆ ที่น่าจะเป็นประโยชน์สำหรับผู้เลี้ยงสัตว์มาฝาก เกี่ยวกับหลักการเบื้องต้นในการช่วยชีวิตลูกสัตว์แรกเกิด ในสถานการณ์ฉุกเฉินที่ลูกสัตว์ไม่หายใจ หรือหัวใจหยุดเต้น ซึ่งต้องได้รับการช่วยเหลืออย่างเร่งด่วนรวมไปถึงการดูแลลูกสัตว์เกิด โดย อ.สพ.ญ.ดร.สร้อยสุดาโชติมานุกูล จาก ภาควิชาสูติศาสตร์เธนุเวชวิทยาและวิทยาการสืบพันธุ์ คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ครับ


กรณีที่ลูกสัตว์ที่หมดสติ ไม่หายใจ หรือหัวใจหยุดเต้นนั้น เจ้าของสัตว์เลี้ยง ผู้เลี้ยง หรือผู้พบเห็นควรรีบเข้าไปช่วยเหลือทันที โดยอาศัยหลักการเดียวกับการช่วยชีวิตลูกสัตว์ที่ไม่สามารถหายใจ ไม่ส่งเสียงร้อง หรือไม่สามารถเคลื่อนไหวได้เองภายใน 1 นาทีหลังคลอด (Neonatal resuscitation) ตามขั้นตอนที่เรียกว่า “ABC” ดังนี้

A (Airway)

การทำให้อากาศผ่านเข้า-ออกทางเดินหายใจได้สะดวกโดยการนำสิ่งที่ขัดขวางทางเดินหายใจออก เช่นเดียวกับลูกสัตว์แรกคลอดที่ต้องหายใจได้เอง ดังนั้นจึงต้องทำให้ของเหลวออกจากทางเดินหายใจลูกสัตว์ให้ได้มากที่สุด จับให้หัวลูกสัตว์อยู่ต่ำกว่าตัวเพื่อให้ของเหลวจากภายในไหลออกมาง่ายขึ้น และสามารถใช้ลูกยางดูดของเหลวออกจากปากและจมูก

B (Breathing)

การกระตุ้นให้ลูกสัตว์หายใจ โดยใช้ผ้าแห้งเช็ดที่ตำแหน่งจมูกและปากก่อน จากนั้นจึงค่อยมาเช็ดและถูบริเวณลำตัวให้แห้งอย่างรวดเร็วแต่เบามือ เพื่อกระตุ้นการหายใจ

C (Circulation)

การกระตุ้นหัวใจและระบบไหลเวียน โดยการบีบนวดช่องอกเบาๆ สิ่งที่ต้องทราบคือ ลักษณะช่องอกสุนัขและแมวไม่ได้แบนราบอย่างในคน ประกอบกับลูกสัตว์มีขนาดตัวที่เล็ก ดังนั้นการบีบนวดช่องอกเพื่อกระตุ้นหัวใจสามารถใช้“นิ้ว” กดที่ด้านข้างช่องอกตรงตำแหน่งหัวใจ หรือทำได้ในท่าที่ลูกสัตว์นอนตะแคง

การให้ความอบอุ่น มีความจำเป็นมากในลูกสัตว์แรกเกิดโดยปกติอุณหภูมิร่างกายในช่วงสัปดาห์แรกอยู่ที่ 96-99 องศาฟาเรนไฮต์ ภาวะอุณหภูมิร่างกายต่ำ (hypothermia)จะเกิดขึ้นได้ง่ายมากในลูกสัตว์ เนื่องจากลูกสัตว์ยังไม่สามารถสร้างความร้อนได้ด้วยตัวเอง และมีความเสี่ยงต่อการสูญเสียความร้อนได้มาก ซึ่งส่งผลให้หัวใจเต้นช้าลง ลำไส้ไม่เคลื่อนไหว จึงห้ามป้อนนม เนื่องจากจะทำให้ลูกสัตว์ท้องอืด และอาจเสียชีวิตได้

หลังจากที่เราพยายามช่วยชีวิตจนลูกสัตว์เริ่มรู้สึกตัว และสามารถหายใจได้เอง ควรรีบนำไปพบสัตวแพทย์เพื่อตรวจร่างกายโดยละเอียดต่อไป

ในกรณีที่เป็นลูกสัตว์แรกเกิด เมื่อหายใจได้ดีแล้ว ควรให้ลูกสัตว์ดูดนมแม่โดยเร็วที่สุด เพื่อที่จะได้รับน้ำนมเหลือง(colostrum) ที่มีส่วนประกอบสำคัญคือภูมิคุ้มกัน (immunoglobulin)ที่จะส่งผ่านจากแม่ไปสู่ลูกภายใน 24 ชั่วโมงหลังคลอด นอกจากนี้ น้ำหนักตัวลูกสัตว์ที่เพิ่มขึ้นทุกวัน มีความสำคัญต่อการรอดชีวิต เมื่อใดก็ตามที่ลูกสัตว์น้ำหนักลดลง จะเป็นการส่งสัญญาณถึงความผิดปกติ จึงควรพาไปพบสัตวแพทย์โดยเร็วที่สุด

สายใยที่ผูกพันกันระหว่างคนกับสัตว์เลี้ยง ระหว่างแม่กับลูก มีคุณค่ามากกว่าสิ่งใด จงอย่าละความพยายามที่จะช่วยเหลือ รวมถึงความใส่ใจในการดูแลหนึ่งชีวิต ให้มีโอกาสที่จะได้ใช้ชีวิตต่อไปครับ

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ นายสัตวแพทย์ ดร.ทิลดิสร์ รุ่งเรืองกิจไกร

ฝ่ายประชาสัมพันธ์ คณะสัตวแพทยศาสตร์

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

Let's block ads! (Why?)



"ของเหลว" - Google News
June 14, 2020 at 02:00AM
https://ift.tt/2B23L4n

คอลัมน์ผู้หญิง - การช่วยชีวิตลูกสัตว์ - หนังสือพิมพ์แนวหน้า
"ของเหลว" - Google News
https://ift.tt/2MlG1dB


Bagikan Berita Ini

0 Response to "คอลัมน์ผู้หญิง - การช่วยชีวิตลูกสัตว์ - หนังสือพิมพ์แนวหน้า"

Post a Comment

Powered by Blogger.